ข้อสังเกต 6 ประการที่อาจบิดเบือนทัศนะความยุติธรรมในการตัดสินกันระหว่างผู้คนในสังคม

งานศึกษาด้านสังคมศาสตร์และจิตวิทยาให้ข้อสังเกต 6 ประการที่อาจบิดเบือนทัศนะความยุติธรรมในการตัดสินกันระหว่างผู้คนในสังคม

1. อภิสิทธิ์ความสวยงาม (Beauty Privilege)

คนที่น่าตาดีมักถูกมองเป็นคนดี น่าทะนุถนอม พูดอะไรก็น่าเชื่อถือไปหมด คนเกาหลีใต้เป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องนี้ เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิพิเศษและมีคนเคารพ การศัลยกรรมเป็นสิ่งจำเป็นของเขา ซึ่งเป็นความบิดเบือนอย่างหนึ่ง

2. การเหยียดรูปลักษณ์ (Lookism)

ในทางกลับกัน คนที่รูปร่างน่าตาที่ไม่ดีเอามากๆ มักถูกมองไม่ดี ทำอะไรก็ผิดตลอด มีงานวิจัยพบว่าคนผิวดำมักถูกมองอย่างไม่ให้เกียรติ ต่างจากคนผิวขาวที่จะถูกมองว่าเก่งไปเสียทุกเรื่อง ซึ่งไม่จริงเสมอไปเพราะความฉลาดหรือความเก่งกาจไม่เกี่ยวอะไรกับรูปลักษณ์ภายนอก

3. คุณภาพการใช้ชีวิต (Quality of Life)

หมายถึงระดับการใช้ชีวิต ความเป็นอยู่ ข้าวของเครื่องใช้ บ้านที่อยู่อาศัย อาหารการกิน การศึกษา เครื่องประดับ ฯลฯ มีแนวโน้มทำให้ได้รับเกียรติหรือถูกมองเป็นคนดีมากกว่าคนที่มีระดับคุณภาพการใช้ชีวิตที่ลดหลั่นลงมา คนที่ตกหลุมเรื่องนี้จะใช้จ่ายไปกับวัตถุสิ่งของและอาจทำร้ายเศรษฐกิจครอบครัวในอนาคต หรืออาจกลายเป็นคนที่ไม่มีความมั่นคงใจใน (insecurity) หากระดับการใช้ชีวิตจำเป็นต้องลดลง อย่างไรก็ตามอคติเรื่องคุณภาพการใช้ชีวิตก็มีอยู่แม้จะไม่เกี่ยวกับการเป็นคนดีหรือไม่ดีก็ตาม

4. อคติจากการรับรู้ (Halo Effect)

คนทั่วไปจะจดจำเรื่องราวหรือเหตุการณ์ครั้งสุดท้ายที่ได้พบกัน ไม่ว่าจะจริงหรือไม่อย่างไร เขามีแนวโน้มถูกมองไปอย่างนั้น เช่น ครั้งสุดท้ายพบในสภาพป่วยก็จะคิดว่าอีกคนป่วยตลอด หรือพบว่ากำลังทานอาหารหรูหรา คนเราก็มีแนวโน้มคิดไปว่าเขาน่าจะทานแต่อาหารหรูหราตลอดเวลา เป็นต้น

5. การละเมิดแนวทางสังคม (Norm Violation)

คนที่ละเมิด จะถูกมองลบก่อน เช่น ในสังคมที่ไม่มีใครกล้าถามหรือแสดงความเห็น คนที่กล้าถามกล้าแสดงความเห็นจะถูกมองไม่ดีไว้ก่อน หรือในสังคมที่แต่งตัวทางการ คนที่แต่งตัวลำลองเข้ามา เขาจะถูกมองในแง่ไม่ดี เป็นต้น เรื่องนี้เป็นอคติอย่างหนึ่งในสังคมไทยเช่นกัน เราควรเรียนรู้ที่จะยอมรับความเห็นต่าง แม้บางครั้งอาจเป็นการไม่คุ้นเคยหรือละเมิดแนวทางสังคมไปบ้างก็ตาม

6. ทัศนะจากมุมมองต่างเจน (Generational Effects)

คนใน generation เดียวกันย่อมมีประสบการณ์ความเข้าใจ การรับรู้ การให้คุณค่ากับเรื่องต่างๆ แตกต่างจากอีก generation หากไม่เปิดใจฟังกันและกัน โอกาสการไปถึงขั้นเหยียดเจน หรือ generational bias อาจเกิดขึ้นได้ และเรื่องนี้มีแนวโน้มเป็นกระแสแรงขึ้นเรื่อยๆ

สิ่งที่เราควรระมัดระวังคือการพยายามไม่มองกันเพียงภายนอก แต่เปิดใจมองให้ลึกถึงคุณค่าภายใน ฟังมากกว่าปิดกั้น พยายามที่สุดที่จะไม่ตัดสินก่อนจะเข้าใจอีกฝ่ายจริงๆ มี empathy ใจเขาใจเรา ค่อยๆ พูดจาถ้อยทีถ้อยอาศัย ไม่จำเป็นต้องรุนแรงใส่กันเมื่อมีความเห็นต่าง

อ้างอิง: Shafee Hassan. (2024). Why Should I Improve My Looks?

ความคิดเห็น