โดย กนก ลีฬหเกรียงไกร
พระเยซูคริสต์ทรงปรากฏต่อเซาโลขณะที่กำลังไปจับตัวคริสเตียนระหว่างทางไปยังเมืองดามัสกัส พระเยซูทรงตักเตือนและทำให้เซาโลคิดได้ว่าผู้ที่เขาข่มเหงอยู่คือพระองค์เองผู้ทรงเป็นพระคริสต์หรือพระเมสสิยาห์ตามคำพยากรณ์ในพันธสัญญาเดิม (กจ.9:3-19; กจ.22:6-16; กจ.26:6-16) ต่อมาไม่นานพระเยซูคริสต์ทรงเรียกเซาโลในการทำพันธกิจต่อคนต่างชาติด้วย (กจ.22:21) คาดว่าเซาโลกลับใจอยู่ในช่วงประมาณปี ค.ศ.32-35 หลังจากนั้นเซาโลเริ่มต้นประกาศที่ดามัสกัสและเข้าออกในอาระเบียอยู่ 3 ปี (อาระเบียในพระคัมภีร์ใหม่หมายถึงเมืองต่างๆ ที่ปกครองโดยชาวนาเบเทียน – the Nabateans – โดยมีดามัสกัสเป็นเมืองหลักในอาระเบียซึ่งอยู่ในอาณัติปกครองของอาณาจักรโรมในเวลานั้น)
เซาโลต้องหนีออกจากเมืองดามัสกัสโดยการช่วยเหลือของพี่น้องคริสเตียนโดยใช้ตระกร้าหย่อนลงจากกำแพง จากนั้นเซาโลเดินทางไปยังเมืองเยรูซาเล็ม และเดินทางกลับไปยังบ้านเกิดคือเมืองทาร์ซัส และปรากฏชื่ออีกครั้งในการรับใช้ที่เมืองอันทิโอก (กจ.11:21-24)
ที่คริสตจักรเมืองอันทิโอกนี่เองเป็นจุดเริ่มต้นของเซาโลในการทำพันธกิจกับคนต่างชาติด้วยการเดินทางไปพันธกิจ 3 ครั้ง ในการเดินทางทำพันธกิจครั้งแรกนั้นอากาบัสผู้เผยพระวจนะจากเยรูซาเล็มได้เผยพระวจนะว่าจะมีการกันดานอาหารเกิดขึ้นที่ยูเดีย พี่น้องอันทิโอกตกลงจะช่วยเหลือโดยการเรี่ยไรเงินช่วยเหลือส่งไปยังคริสตจักรเมืองเยรูซาเล็มโดยมอบให้บารนาบัสและเซาโลถือไป คาดว่าการเดินทางไปพันธกิจครั้งแรกนี้ครอบคลุมเวลาระหว่างปี ค.ศ.44-46 การเดินทางครั้งนั้นบารนาบัสและเซาโลเป็นผู้นำ ยอห์น ผู้มีอีกชื่อว่ามาระโก ญาติของบารนาบัสเป็นผู้ติดตาม การเดินทางเริ่มต้นที่อันทิโอกไปยังท่าเรือเมืองซิลูเคียเพื่อต่อไปยังเกาะไซปรัส จากนั้นไปยังเมืองซาลามิส และไปต่อยังเมืองปาโฟส ที่เมืองปาโฟสเกิดปรากฏการณ์ที่มีความหมายมากต่อมุมมองของคริสเตียนชาวยิวเพราะผู้สำเร็จราชการชื่อเสอร์จีอัส เปาลุส ผู้เป็นคนต่างชาติ เป็นผู้ปกครองชาวโรมันมากลับใจเชื่อในพระเยซูคริสต์ เป็นการปรับมุมมองการรับใช้ของเซาโลจากเดิมประกาศโดยมุ่งเน้นที่ชาวยิวและคนต่างชาติที่กลับใจมากป็นผู้เชื่อในศาสนายูดาย (God-fearer Gentiles) มาเป็นคนต่างชาติทั่วไปที่จะสามารถเข้ามาเป็นหนึ่งในประชากรของพระเจ้าได้ไม่ต่างกับชาวยิวแต่อย่างใด
ความจริงกรณีคนต่างชาติกลับใจเชื่อพระเยซูคริสต์ไม่ใช่เป็นคนแรก นายร้อยโครเนลิอัสก็กลับใจผ่านเปโตรมาแล้ว แต่กรณีของนายร้อยโครเนลิอัสเขาเป็นผู้ที่ยำเกรงพระเจ้าอยู่แล้ว กรณีการกลับใจของผู้สำเร็จราชการชื่อเสอร์จีอัส เปาลุสจึงถือเป็นสิ่งพิเศษมากๆ ที่ไปไกลกว่านั้น เซาโลได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นเปาโล แสดงความมุ่งมั่นที่จะนำข่าวประเสริฐไปยังคนต่างชาติอย่างเต็มที่ หลังจากเหตุการณ์ครั้งนั้นลูกาผู้เขียนพระธรรมกิจการฯ ได้สลับชื่อเปาโลนำหน้าบารนาบัส (กจ.13:13, 51) และยอห์น ผู้มีอีกชื่อว่ามาระโก ได้ผละท่านจากปาโฟสกลับไปยังเมืองเยรูซาเล็ม
Longenecker (1971, 43) ได้ให้เหตุผลที่ยอห์น ผู้มีอีกชื่อว่ามาระโก หนีกลับไปยังเยรูซาเล็มระหว่างการเดินทางในพันธกิจครั้งที่ 1 ของเปาโลไม่ใช่เพราะทนต่อความยากลำบากในการเดินทางไม่ได้ แต่เพราะไม่สามารถยอมรับในการกลับใจของคนต่างชาติโดยเฉพาะผู้สำเร็จราชการเสอร์จีอัส เปาลุส ที่เมืองปาโฟส และทิศทางพันธกิจของเปาโลจากเดิมที่ตั้งใจจะไปหาชาวยิวตามธรรมศาลากลายเป็นคนต่างชาติไป
การเดินทางยังคงดำเนินต่อไป เปาโลและบารนาบัสประกาศข่าวประเสริฐที่เมืองอันทิโอกในแคว้นปิสิเดียสิ เมืองอิโคนิยูม ถูกต่อต้านจนกระทั่งมายังเมืองลิสตราและเดอร์บี ที่นั่นเปาโลได้พบกับทิโมธี (กจ.16:1; กจ.20:4) ซึ่งต่อมาได้เข้ามาเป็นทีมงานสำคัญในพันธกิจของเปาโล
ความสำเร็จในการทำพันธกิจครั้งแรกของเปาโลสามารถสรุปได้ในพระธรรมกิจการฯ 14:27 “เมื่อมาถึง ท่านทั้งสองก็เรียกประชุมคริสตจักร และเล่าให้ฟังถึงมหกิจทั้งปวงซึ่งพระเจ้าทรงทำร่วมกับท่านทั้งสอง และเล่าถึงการที่พระองค์ทรงเปิดประตูความเชื่อแก่พวกต่างชาติ”
การกลับใจของผู้สำเร็จราชการเสอร์จีอัส เปาลุส ที่เมืองปาโฟส และคนต่างชาติในการทำพันธกิจครั้งแรก ทำให้เกิดข้อโต้เถียงว่าคนต่างชาติสามารถกลับใจเป็นคริสเตียนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของพันธสัญญาของพระเจ้าในการเป็นประชากรของพระองค์ได้หรือไม่ ประเด็นสำคัญนี้ก่อให้เกิดการประชุมที่เยรูซาเล็ม (Council of Jerusalem) ซึ่งยากอบผู้นำที่คริสตจักรเยรูซาเล็มได้สรุปตามหลักพระคัมภีร์เดิมที่คาดหวังให้ผู้เชื่อไม่ว่ายิวหรือต่างชาติมีโอกาสรับพระคุณได้เท่าเทียมกัน แต่ขอให้คริสเตียนต่างชาติงดเว้นจาก (1) สิ่งที่เป็นมลทินเนื่องด้วยรูปเคารพ (2) การล่วงประเวณี (3) การกินเนื้อสัตว์ที่ถูกรัดคอตาย และ (4) การกินเลือด (กจ.15:20-29)
ผลของคำประกาศจากการประชุมในเยรูซาเล็มทำให้เกิดการเดินทางพันธกิจครั้งที่ 2 ของเปาโล ซึ่งอยู่ในระหว่างปี ค.ศ.49-52 ครั้งนี้เกิดเหตุการณ์การแยกทีมระหว่างเปาโลกับบารนาบัส เนื่องจากเปาโลไม่สามารถยอมรับมาระโกที่ผละตัวกลับไปยังเยรูซาเล็มระหว่างพันธกิจครั้งแรกเพราะไม่เห็นด้วยกับการกลับใจของคนต่างชาติ เกิดการโต้เถียงกันและจบลงด้วยเปาโลพาสิลาสกลับไปเยี่ยมคริสตจักรที่แคว้นเอเซีย ไมเนอร์ ส่วนบารนาบัสพามาระโกกลับไปเยี่ยมคริสตจักรที่เกาะไซปรัส (กจ.15:36-40) เป็นไปได้อย่างมากที่บารนาบัสต้องการขยายใจของยอห์น มาระโกที่นั่น เพราะเขาอาจติดใจเรื่องผู้สำเร็จราชการเสอร์จิอัส เปาลุสที่อยู่ที่เกาะไซปรัสมาเชื่อในรับพันธกิจที่แล้ว และครั้งนี้ตั้งใจพาไปเยี่ยมที่นั่นเลย
ส่วนเปาโล การเดินทางครั้งที่ 2 เปาโลได้มายังเมืองลิสตราและเดอร์บีเพื่อมาเยี่ยมทิโมธีที่เปาโลได้ประกาศในการทำพันธิจครั้งแรก เปาโลได้พาทิโมธีเข้าร่วมการเดินทางพันธกิจในครั้งนี้ด้วย พระวิญญาณบริสุทธิ์ได้ทรงนำทิศทางในการทำพันธกิจครั้งที่ 2 นี้อย่างชัดเจน ทรงห้ามไม่ให้เข้าไปยังแค้วนเอเชียตะวันตก แคว้นฟรีเจีย แคว้นกาลาเทีย แคว้นมิเซีย แคว้นบิธีเนีย (กจ.16:6-7) แต่ที่เมืองโตรอัส พระวิญญาณฯ ทรงนำเปาโลโดยนิมิตชายชาวมาซีโดเนียยืนอ้อนวอนขอร้องให้เปาโลมาช่วย (กจ.16:8-9) เปาโลจึงเดินทางไปยังแคว้นมาซีโดเนีย เข้าไปยังเมืองฟิลิปปี พระเจ้าเปิดทางโดยให้นางลิเดียมากลับใจและนางลิเดียได้ให้บ้านของนางเป็นศูนย์กลางในการทำงานพันธกิจ (กจ.16:13-15) เกิดเหตุการณ์การต่อต้านจนเปาโลและสิลาสถูกจับเข้ามาในคุก ระหว่างนมัสการ พระเจ้าทรงเขย่าคุกจนประตูคุกเปิดออก ผู้คุมและครอบครัวได้มากลับใจเป็นคริสเตียนจากเหตุการณ์นั้น ที่เมืองเธสะโลนิกา ยิวต่อต้านเปาโลอย่างหนัก และตามมาต่อต้านต่อที่เมืองเบโรอา จนกระทั่งเปาโลมายังกรุงเอเธนส์ ประกาศกับพวกปรัชญาเมธีกรีก พวกอิพิคูเรียล (Epicurean) และ พวกสโตอิก (Stoic philosophies) ซึ่งไม่เกิดผลมากนักแต่มี “ดิโอนิสิอัส” สมาชิกสภาอาเรโอปากัส กับหญิงคนหนึ่งชื่อ “ดามาริส” และคนอื่นๆ อีกจำนวนหนึ่งผู้หญิงสูงศักดิ์ มากลับใจ (กจ.17:32-34) หลังจากนั้นเปาโลมายังเมืองโครินธ์ ด้วยความอ่อนแอและหวาดหวั่น (1 คร.2:3) เปาโลพักกับยิวที่ชื่อ อาควิลลา และปริสสิลลา ที่โครินธ์ คริสปัส นายธรรมศาลาได้มากลับใจ จากนั้นได้เดินทางกลับไปยังอันทิโอกที่แคว้นซีเรีย จบการเดินทางในการทำพันธกิจครั้งที่ 2 ของเปาโล
การเดินทางครั้งที่ 3 เกิดขึ้นในปี ค.ศ.53-58 เปาโลและทีมได้เดินทางไปเยี่ยมพี่น้องที่แค้วนกาลาเทียและฟรีเจีย จนมาถึงเมืองเอเฟซัสซึ่งเกิดเหตุการณ์สำคัญมากมายที่นั่น เอเฟซัสเป็นเมืองท่าสำคัญของโรมันและเป็นเมืองที่มีเทวรูปพระอาเทมิส (Artemis) หนึ่งในสิ่งมหัศจรรย์ของยุคโบราณ เมืองเอเฟซัสจึงคับคั่งไปด้วยพ่อค้า นักท่องเที่ยว และนักแสวงบุญ อปอลโลซึ่งเป็นสาวกของยอห์น ผู้ให้บัพติศมา ประกาศเรื่องของพระเยซูอย่างแข็งขัน อปอลโลเป็นคนมีโวหารดี มีความเชี่ยวชาญในพระคัมภีร์ ปริสสิลลาและอาควิลลา จึงรับมาสอนเพื่อให้รู้ทางของพระเจ้าให้ถูกต้องยิ่งขึ้น (กจ.18:24-28) เปาโลยังได้พบกับสาวก 12 คนของยอห์นผู้ให้บัพติศมาและได้เป็นพยานถึงพระเยซูคริสต์ และทั้งหมดได้รับบัพติศมาในนามของพระเยซูคริสต์ การรับใช้ที่เมืองเอเฟซัสกินเวลาถึง 3 ปี การเกิดผลของเอเฟซัสในที่สุดก็ไปกระทบกับธุรกิจรูปเคารพของเมือง ทำให้เปาโลถูกต่อต้านอย่างหนักเกิดการจราจลนำโดยเดเมติอัสและช่างเงินผู้เสียผลประโยชน์จนเปาโลถูกบีบให้ออกจากเมืองเดินทางต่อไปยังเมืองโตรอัส
ภารกิจสำคัญอีกอย่างหนึ่งในการเดินทางทำพันธกิจครั้งที่ 3 คือการเรี่อยไรเงินจากเมืองต่างๆ กลับไปช่วยพี่น้องที่เยรูซาเล็มที่กำลังประสบกับปัญหาภัยแล้ง เปาโลยังเตือนใจพี่น้องคริสเตียนต่างชาติให้ระลึกถึงพระพรที่ได้มาจากคริสเตียนที่เมืองเยรูซาเล็มเสมอ เปาโลเดินทางไปยังแคว้นมาซีเนียเข้าไปยังเมืองโครินธ์ ที่นั่นได้เขียนจดหมายไปยังกรุงโรมแสดงเจตนาที่จะไปเยี่ยมคริสตจักรโรมด้วย จากนั้นเปาโลไปต่อยังฟิลิปปี เมืองโตรอัส เมืองมิเลทัส เมืองซิซาริยา ที่นั่นผู้เผยพระวจนะกาอาบัสได้ลงมาจากแค้วนยูเดียเพื่อเตือนเปาโลถึงอันตรายหากเปาโลเข้าไปยังกรุงเยรูซาเล็ม (กจ.21:10-11) แต่เปาโลตั้งใจแล้วว่าจะไปที่นั่นให้ได้แม้จะต้องถูกข่มเหงก็ตาม เปาโลจึงเดินทางต่อไปยังกรุงเยรูซาเล็ม ยิวจากแค้วนเอเซียได้ใส่ร้ายเปาโลจนกระทั่งเปาโลถูกจับเป็นการจบการเดินทางพันธกิจครั้งที่ 3
เราสามารถพบได้ว่าความสำเร็จในการทำพันธกิจของเปาโลเกิดขึ้นจาก (1) การรับรองของพระเจ้าผ่านการทรงนำของพระวิญญาณบริสุทธิ์ (2) พื้นฐานพระคัมภีร์ ชีวิตที่สัมพันธ์สนิท และพึ่งพาพระเจ้าเสมอ (3) ความมุ่งมั่น กล้าหาญ ความพยายามไม่ลดละในการรับใช้ (4) ความเข้าใจศาสนศาสตร์ที่ลึกซึ้งโดยเฉพาะเรื่องการไถ่บาป การฟื้นคืนพระชนม์ของพระเยซูคริสต์ การประยุกต์หลักศาสนศาสตร์กับคริสตจักรต่างชาติ (5) การสร้างสาวก การรับใช้เป็นทีม การสร้างและให้โอกาสทีมงานในการรับใช้ (6) ความรักผูกพันที่มีต่อพี่น้อง (7) ความเข้าใจยุทธวิธีในการรับใช้ เช่น การเข้าไปยังเมืองสำคัญ การเริ่มงานจากธรรมศาลายิวในแต่ละเมือง การสร้างสาวกให้เกิดขึ้นและเข้มแข็งในแต่ละเมือง เป็นต้น
อ้างอิง: The Ministry and Message of Paul, Richard N. Longenecker
The Ministry and Message of Paul, Richard N. Longenecker |
เส้นทางพันธกิจครั้งที่ 1 ของเปาโล |
ผู้สำเร็จราชการเสอร์จีอัส เปาลุส กลับใจจากการเห็นการอัศจรรย์ที่เซาโลสั่งเอลีมาส คนทำวิทยาคมที่พยายามต่อต้านไม่ให้ผู้ว่าราชการเชื่อให้ตาบอด (กจ.13:8, 12) |
Longenecker (1971, 43) ได้ให้เหตุผลที่ยอห์น ผู้มีอีกชื่อว่ามาระโก หนีกลับไปยังเยรูซาเล็มระหว่างการเดินทางในพันธกิจครั้งที่ 1 ของเปาโลไม่ใช่เพราะทนต่อความยากลำบากในการเดินทางไม่ได้ แต่เพราะไม่สามารถยอมรับในการกลับใจของคนต่างชาติโดยเฉพาะผู้สำเร็จราชการเสอร์จีอัส เปาลุส ที่เมืองปาโฟส และทิศทางพันธกิจของเปาโลจากเดิมที่ตั้งใจจะไปหาชาวยิวตามธรรมศาลากลายเป็นคนต่างชาติไป
การเดินทางยังคงดำเนินต่อไป เปาโลและบารนาบัสประกาศข่าวประเสริฐที่เมืองอันทิโอกในแคว้นปิสิเดียสิ เมืองอิโคนิยูม ถูกต่อต้านจนกระทั่งมายังเมืองลิสตราและเดอร์บี ที่นั่นเปาโลได้พบกับทิโมธี (กจ.16:1; กจ.20:4) ซึ่งต่อมาได้เข้ามาเป็นทีมงานสำคัญในพันธกิจของเปาโล
ความสำเร็จในการทำพันธกิจครั้งแรกของเปาโลสามารถสรุปได้ในพระธรรมกิจการฯ 14:27 “เมื่อมาถึง ท่านทั้งสองก็เรียกประชุมคริสตจักร และเล่าให้ฟังถึงมหกิจทั้งปวงซึ่งพระเจ้าทรงทำร่วมกับท่านทั้งสอง และเล่าถึงการที่พระองค์ทรงเปิดประตูความเชื่อแก่พวกต่างชาติ”
การกลับใจของผู้สำเร็จราชการเสอร์จีอัส เปาลุส ที่เมืองปาโฟส และคนต่างชาติในการทำพันธกิจครั้งแรก ทำให้เกิดข้อโต้เถียงว่าคนต่างชาติสามารถกลับใจเป็นคริสเตียนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของพันธสัญญาของพระเจ้าในการเป็นประชากรของพระองค์ได้หรือไม่ ประเด็นสำคัญนี้ก่อให้เกิดการประชุมที่เยรูซาเล็ม (Council of Jerusalem) ซึ่งยากอบผู้นำที่คริสตจักรเยรูซาเล็มได้สรุปตามหลักพระคัมภีร์เดิมที่คาดหวังให้ผู้เชื่อไม่ว่ายิวหรือต่างชาติมีโอกาสรับพระคุณได้เท่าเทียมกัน แต่ขอให้คริสเตียนต่างชาติงดเว้นจาก (1) สิ่งที่เป็นมลทินเนื่องด้วยรูปเคารพ (2) การล่วงประเวณี (3) การกินเนื้อสัตว์ที่ถูกรัดคอตาย และ (4) การกินเลือด (กจ.15:20-29)
เส้นทางพันธกิจครั้งที่ 2 ของเปาโล |
ส่วนเปาโล การเดินทางครั้งที่ 2 เปาโลได้มายังเมืองลิสตราและเดอร์บีเพื่อมาเยี่ยมทิโมธีที่เปาโลได้ประกาศในการทำพันธิจครั้งแรก เปาโลได้พาทิโมธีเข้าร่วมการเดินทางพันธกิจในครั้งนี้ด้วย พระวิญญาณบริสุทธิ์ได้ทรงนำทิศทางในการทำพันธกิจครั้งที่ 2 นี้อย่างชัดเจน ทรงห้ามไม่ให้เข้าไปยังแค้วนเอเชียตะวันตก แคว้นฟรีเจีย แคว้นกาลาเทีย แคว้นมิเซีย แคว้นบิธีเนีย (กจ.16:6-7) แต่ที่เมืองโตรอัส พระวิญญาณฯ ทรงนำเปาโลโดยนิมิตชายชาวมาซีโดเนียยืนอ้อนวอนขอร้องให้เปาโลมาช่วย (กจ.16:8-9) เปาโลจึงเดินทางไปยังแคว้นมาซีโดเนีย เข้าไปยังเมืองฟิลิปปี พระเจ้าเปิดทางโดยให้นางลิเดียมากลับใจและนางลิเดียได้ให้บ้านของนางเป็นศูนย์กลางในการทำงานพันธกิจ (กจ.16:13-15) เกิดเหตุการณ์การต่อต้านจนเปาโลและสิลาสถูกจับเข้ามาในคุก ระหว่างนมัสการ พระเจ้าทรงเขย่าคุกจนประตูคุกเปิดออก ผู้คุมและครอบครัวได้มากลับใจเป็นคริสเตียนจากเหตุการณ์นั้น ที่เมืองเธสะโลนิกา ยิวต่อต้านเปาโลอย่างหนัก และตามมาต่อต้านต่อที่เมืองเบโรอา จนกระทั่งเปาโลมายังกรุงเอเธนส์ ประกาศกับพวกปรัชญาเมธีกรีก พวกอิพิคูเรียล (Epicurean) และ พวกสโตอิก (Stoic philosophies) ซึ่งไม่เกิดผลมากนักแต่มี “ดิโอนิสิอัส” สมาชิกสภาอาเรโอปากัส กับหญิงคนหนึ่งชื่อ “ดามาริส” และคนอื่นๆ อีกจำนวนหนึ่งผู้หญิงสูงศักดิ์ มากลับใจ (กจ.17:32-34) หลังจากนั้นเปาโลมายังเมืองโครินธ์ ด้วยความอ่อนแอและหวาดหวั่น (1 คร.2:3) เปาโลพักกับยิวที่ชื่อ อาควิลลา และปริสสิลลา ที่โครินธ์ คริสปัส นายธรรมศาลาได้มากลับใจ จากนั้นได้เดินทางกลับไปยังอันทิโอกที่แคว้นซีเรีย จบการเดินทางในการทำพันธกิจครั้งที่ 2 ของเปาโล
เส้นทางพันธกิจครั้งที่ 3 ของเปาโล |
ภารกิจสำคัญอีกอย่างหนึ่งในการเดินทางทำพันธกิจครั้งที่ 3 คือการเรี่อยไรเงินจากเมืองต่างๆ กลับไปช่วยพี่น้องที่เยรูซาเล็มที่กำลังประสบกับปัญหาภัยแล้ง เปาโลยังเตือนใจพี่น้องคริสเตียนต่างชาติให้ระลึกถึงพระพรที่ได้มาจากคริสเตียนที่เมืองเยรูซาเล็มเสมอ เปาโลเดินทางไปยังแคว้นมาซีเนียเข้าไปยังเมืองโครินธ์ ที่นั่นได้เขียนจดหมายไปยังกรุงโรมแสดงเจตนาที่จะไปเยี่ยมคริสตจักรโรมด้วย จากนั้นเปาโลไปต่อยังฟิลิปปี เมืองโตรอัส เมืองมิเลทัส เมืองซิซาริยา ที่นั่นผู้เผยพระวจนะกาอาบัสได้ลงมาจากแค้วนยูเดียเพื่อเตือนเปาโลถึงอันตรายหากเปาโลเข้าไปยังกรุงเยรูซาเล็ม (กจ.21:10-11) แต่เปาโลตั้งใจแล้วว่าจะไปที่นั่นให้ได้แม้จะต้องถูกข่มเหงก็ตาม เปาโลจึงเดินทางต่อไปยังกรุงเยรูซาเล็ม ยิวจากแค้วนเอเซียได้ใส่ร้ายเปาโลจนกระทั่งเปาโลถูกจับเป็นการจบการเดินทางพันธกิจครั้งที่ 3
เราสามารถพบได้ว่าความสำเร็จในการทำพันธกิจของเปาโลเกิดขึ้นจาก (1) การรับรองของพระเจ้าผ่านการทรงนำของพระวิญญาณบริสุทธิ์ (2) พื้นฐานพระคัมภีร์ ชีวิตที่สัมพันธ์สนิท และพึ่งพาพระเจ้าเสมอ (3) ความมุ่งมั่น กล้าหาญ ความพยายามไม่ลดละในการรับใช้ (4) ความเข้าใจศาสนศาสตร์ที่ลึกซึ้งโดยเฉพาะเรื่องการไถ่บาป การฟื้นคืนพระชนม์ของพระเยซูคริสต์ การประยุกต์หลักศาสนศาสตร์กับคริสตจักรต่างชาติ (5) การสร้างสาวก การรับใช้เป็นทีม การสร้างและให้โอกาสทีมงานในการรับใช้ (6) ความรักผูกพันที่มีต่อพี่น้อง (7) ความเข้าใจยุทธวิธีในการรับใช้ เช่น การเข้าไปยังเมืองสำคัญ การเริ่มงานจากธรรมศาลายิวในแต่ละเมือง การสร้างสาวกให้เกิดขึ้นและเข้มแข็งในแต่ละเมือง เป็นต้น
อ้างอิง: The Ministry and Message of Paul, Richard N. Longenecker
ความคิดเห็น