31 ตุลาคม ค.ศ.1517 วันแห่งการปฏิรูปคริสต์ศาสนา หรือ Reformation Day
วันนี้เป็นวันที่มาร์ติน ลูเธอร์ (Martin Luther) นักศาสนวิทยาของโรมัน คาทอลิก โพสต์ประกาศ 95 ข้อ (95 Theses) ที่หน้าประตูโบสถ์คาสเทิล เมืองวิทเทนบรูก เยอรมัน (Castle Church, Witthenberg) เพื่อโต้แย้งคอนเซ็ปท์เรื่องไฟชำระ (Purgatory) การซื้อใบไถ่บาป (Sale of Indulgences) และอีกหลายเรื่อง
สมัยนั้นการโพสต์แบบเอาประกาศที่เขียนไว้แล้วตอกตะปูติดไว้ที่ประตูโบสถ์ก็เหมือนกับเราเขียน Status ที่หน้า Wall ของ Facebook ของเรานั่นหล่ะครับ (อย่างไรก็ตามมีข้อโต้แย้งจากนักประวัติศาสตร์สาย Secular ว่าวิธีโพสต์ประกาศไม่ได้ใช้วิธีตอกตะปูแต่แค่ติดกาว และมาร์ติน ลูเธอร์ ให้ภารโรงติด ไม่ได้ติดเอง)
อาจจะมีความสงสัยว่าทำไมต้องเลือกวันฮาโลวีน 31 ตุลาคม อันนั้นต้องไปไล่อ่านที่บทความที่ผมเคยเขียนเกี่ยวกับวันฮาโลวีนครับ แต่ตอบง่ายๆ คือวันนั้นจะมีคนมาโบสถ์เยอะเป็นพิเศษ เท่ากับท่านมาร์ติน ลูเธอร์ ก็เลือกโพสต์ได้ถูกเวลาถูกจังหวะหล่ะครับ
อ่านบทความเกี่ยวกับวันฮาโลวีน คลิ๊กที่นี่ http://kanok-leelahakriengkrai.blogspot.com/2015/10/blog-post_26.html
หารู้ไม่ว่าเรื่องนี้ก่อให้เกิดความไม่พอใจอย่างยิ่งจากพระสันตะปาปา ลีโอที่ 10 (Pope Leo X) จนกระทั่งมีการตอบโต้ไปมาหลายครั้ง มีการขึ้นศาลไต่สวนมาร์ติน ลูเธอร์
ผู้นำชั้นสูงในฝ่ายเยอรมันฉกฉวยโอกาสประกาศรับรองแนวคิดของท่านมาร์ติน ลูเธอร์ เพื่อจะปลดแอกตัวเองออกจากการเป็นประเทศใต้การปกครองของโป๊ปที่โรม จนท้ายที่สุด มาร์ติน ลูเธอร์ถูกอเปหิออกจากศาสนจักร เปิดสงครามศาสนาภายในประเทศเยอรมันระหว่างผู้นับถือคาทอลิกกับผู้สนับสนุนแนวทางปฏิรูปอย่างเป็นทางการ เกิดการลุกฮือของชาวนาเพื่อสนับสนุนมาร์ติน ลูเธอร์ ชาวนาต่อสู้กับเหล่าชนชั้นสูงจนได้รับชัยชนะในปี 1525 สงครามจบด้วยผู้เสียชีวิต 100,000 คน และเป็นการเปิดศักราชใหม่แห่งการปฏิรูปอย่างกล้าหาญจากนักคิดหลายคนในเวลาต่อมา
กลุ่มนักปฏิรูปโปรเตสแตนต์ที่มีชื่อเสียง ประกอบไปด้วย Martin Luther (มาร์ติน ลูเธอร์-เยอรมัน), John Calvin (จอห์น คาลวิน-ฝรั่งเศส), Huldrych Zwingli (อูลิค สวิงลี่-สวิสเซอร์แลนด์)
หมายเหตุ: เพื่อผู้อ่านจะพอลำดับเวลาได้ ปี ค.ศ.1517 หรือ พ.ศ.2060 ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 แห่งอาณาจักรอยุธยาของเรานั่นเอง
รายการอ้างอิง
Martin Luther จากภาพยนตร์ |
Martin Luther 1546 |
สมัยนั้นการโพสต์แบบเอาประกาศที่เขียนไว้แล้วตอกตะปูติดไว้ที่ประตูโบสถ์ก็เหมือนกับเราเขียน Status ที่หน้า Wall ของ Facebook ของเรานั่นหล่ะครับ (อย่างไรก็ตามมีข้อโต้แย้งจากนักประวัติศาสตร์สาย Secular ว่าวิธีโพสต์ประกาศไม่ได้ใช้วิธีตอกตะปูแต่แค่ติดกาว และมาร์ติน ลูเธอร์ ให้ภารโรงติด ไม่ได้ติดเอง)
อาจจะมีความสงสัยว่าทำไมต้องเลือกวันฮาโลวีน 31 ตุลาคม อันนั้นต้องไปไล่อ่านที่บทความที่ผมเคยเขียนเกี่ยวกับวันฮาโลวีนครับ แต่ตอบง่ายๆ คือวันนั้นจะมีคนมาโบสถ์เยอะเป็นพิเศษ เท่ากับท่านมาร์ติน ลูเธอร์ ก็เลือกโพสต์ได้ถูกเวลาถูกจังหวะหล่ะครับ
อ่านบทความเกี่ยวกับวันฮาโลวีน คลิ๊กที่นี่ http://kanok-leelahakriengkrai.blogspot.com/2015/10/blog-post_26.html
สันตะปาปา ลีโอที่ 10 (Leo X) |
กองทัพชาวนาปะทะเหล่าอัศวินของชั้นสูงในสงครามชาวนาที่มีผู้เสียชีวิตถึง 1 แสนคนในปีเดียว |
John Calvin ผู้กำเนิดหลัก Predestination ที่มีอิทธิพลต่อความคิดของคริสเตียนมากมายในปัจจุบัน |
Huldrych Zwingli ผู้ยืนหยัดในการตีความพระคัมภีร์และต่อต้าน Anabaptists |
รายการอ้างอิง
- เยสเซ ไลแมน เฮอร์ลบัท ดี.ดี., ประวัติศาสตร์คริสตจักรสากล
- Elizabeth Bilfinger. The Politicization and Criminalization of Anabaptism: Perspectives of Huldrych Zwingli and Menno Simons. Senior Theses, Trinity College, Hartford, 2013.
- Bainton, Roland H. (1978). Here I Stand: A Life of Martin Luther.
- Blickle, Peter (1981). The Revolution of 1525: The German Peasants War from a New Perspective.
ความคิดเห็น