แต่งหน้าฮาโลวีนสไตล์โหดเลยครับ |
อันนี้น่ารักๆ Disney Halloween Parade |
ต้นตอของฮาโลวีน
วันฮาโลวีนจริงๆ มาจากวัน Samhain (ภาษาไอริช อ่านว่าเซาเวน) เป็นวันที่ถูกกำหนดให้เป็นวันสิ้นสุดฤดูเก็บเกี่ยวและเข้าสู่ฤดูหนาวของชาวเคลท์ (Celt) หรือประเทศที่พูดภาษา Celt ซึ่งมีหลายประเทศ เช่น อังกฤษ (บริททานี) เวลส์ สก๊อตแลนด์ ไอร์แลนด์ ความเชื่อในวันนี้ของชาวเคลท์คือเชื่อว่าเป็นวันปล่อยผี ซึ่งผีจะหลุดออกมาจากนรกมาเดินเพ่นพานไปมาได้ 1 คืน คือคืนวันที่ 31 ตุลาคม จนถึงเช้า วันที่ 1 ซึ่งถือเป็นวัน Samhain การฉลองของเขาคือทุกคนจะแต่งตัวให้เป็นผีเพื่อให้ผีจริง "งง" เพื่อตัวเองจะได้ปลอดภัย... ก็ว่ากันไป การฉลองแบบนี้ก็ทำมาเนิ่นนานจะเป็นประเพณีท้องถิ่นที่ลามไปจนทั่วยุโรปไปจนกระทั่งถึง ศตวรรษที่ 4 เมื่อชาวเคลท์และยุโรปเปิดรับศาสนาคริสต์เข้ามาแทนที่จากวัน Samhain สู่วันฉลองธรรมิกชนผู้ล่วงลับ
เป็นความตั้งใจของศาสนจักรในช่วงศตวรรษที่ 4 ที่จะให้มีการระลึกถึงมรณสักขีแห่งความศรัทธา (Martyr of the faith) หรือผู้เชื่อที่ยืนหยัดในความเชื่อจนกระทั่งถูกข่มเหงจนเสียชีวิต จึงได้เลือกวันที่ยุโรปมีการฉลองอยู่แล้วแต่หยิบเอาความหมายใหม่เติมเข้าไปให้สมบูรณ์ตามหลักข้อเชื่อที่ถูกต้องที่ชาวคริสต์ในยุโรปเคารพนับถือกัน และกำหนดให้มีการฉลองในช่วงวันเดียวกันแต่เพิ่มวันเป็น 3 วันคือAll Saints - Wikipedia |
1 พฤศจิกายน เป็นวัน All Hallows' Day - โป๊ปเกรโกรี่ ที่ 3 กำหนดวันนี้ให้เป็นวันเดียวกันกับวัน Samhain ถือเป็นวันฉลองมรณสักขี และจัดให้มีมิซซาใหญ่ช่วงเย็นในโบสถ์ ซึ่งจะมีชาวคริสต์เข้าร่วมเยอะมากในทุกๆ ปี
2 พฤศจิกายน เป็นวัน All Souls' Day - เป็นวันที่ระลึกถึงผู้ตายทั่วไป โบสถ์จะมีการอธิษฐานเผื่อผู้ล่วงลับด้วย
ในมุมของโปรเตสเตนท์ วันที่ 1 และ 2 จะรวมอยู่วันเดียวกันคือวัน All Hallows' Day และให้ความหมายถึงการระลึกถึงการเป็นผู้เชื่อที่เป็นคริสตจักรสากล หรือ Universal Church คือผู้เชื่อทุกยุคทุกสมัยในคริสตจักรสากลทั้งที่ล่วงลับและที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบันและอนาคต
Halloween วันที่แรง และแตกแยก
ความรู้สึกไม่พอใจในแนวทางปฏิบัติของศาสนจักรคาทอลิก ที่ไม่ถูกครรลองตามหลักพระคัมภีร์ทำให้ มาร์ติน ลูเธอร์ นักบวชคาทอลิกและนักศาสนวิทยา ได้ติดข้อวินิฉัย 95 เรื่องที่ประนามการกระทำที่ไม่ถูกต้องของศาสนจักรคาทอลิก ที่หน้าประตูโบสถ์ คาสเทิล Castle Church in Wittenberg เยอรมัน และได้เลือกวันที่มีผู้เชื่อที่จะมาเข้าโบสถ์อย่างมากมายคือในวันที่ วันที่ 31 ตุลาคม 1517 ซึ่งตรงกับวันฮาโลวีนนั่นเองมาร์ติน ลูเธอร์ กับประกาศ 95 ข้อ ประนามการกระทำที่ไม่ถูกต้องของศาสนจักรคาทอลิก |
สิ่งที่สามารถสังเกตได้ในตอนนี้คือ ทั้งศาสนจักรคาทอลิก และโปรเตสเตนต์ ไม่มีปัญหากับความหมายของวันฮาโลวีนเลย แต่จะมีปัญหาในเรื่องอื่นมากกว่า
จากยุโรปสู่อเมริกา จากอเมริกาสู่ไทย
การฉลองฮาโลวีนแบบสนุกสนานยังคงดำเนินต่อไป โดยให้ความหมายใหม่เรียบร้อยทั้งคาทอลิกและโปรเตสแตนต์ ทำให้ยิ่งเป็นที่นิยมไม่แพ้วันคริสต์มาสเลย เพราะนอกจากจะสอดคล้องกับแนวคิดในเรื่องการระลึกถึงผู้เชื่อที่ล่วงลับในฐานะสถาบันผู้เชื่อ หรือคริสตจักรสากลแล้ว เทศกาลนี้ยังมีความสนุกในการแต่งตัวปนเข้าไปด้วย การฉลองกว่าพันปีจึงระบาดเข้ามาที่อเมริกาเมื่อชาวยุโรปอพยพไปตั้งถิ่นฐานที่อเมริกา การละเล่นนี้จึงไปยังอเมริกา และกว่า 200 ปี จึงระบาดเข้ามาในประเทศไทยผ่านสื่อที่ทันสมัยขึ้นเรื่อยๆคริสเตียนไทยเอายังไง
เนื่องจากวัฒนธรรมไทยมองเรื่องผีต่างจากวัฒนธรรมตะวันตกเป็นอย่างมาก เรื่องนี้จึงกลายเป็นข้อถกเถียงครับ บางกลุ่มเชื่อว่าคริสเตียนไปร่วมฉลองได้แบบสุดๆ คือแต่งเป็นผี เป็นมัมมี่ แดรกคูล่า ฯลฯ บางกลุ่มก็เชื่อว่าคริสเตียนห้ามยุ่งเลยเพราะถือว่าไปนมัสการผีมารซาตานในมุมมองของผม เรื่องการนมัสการผีมารซาตาน ถ้าเราดูที่มาของวันฮาโลวีน สรุปได้เลยว่าไม่เกี่ยวกับเรื่องนมัสการผีมารซาตานเลย ยังไงคนที่ไม่เห็นด้วยลองเปิดใจค้นคว้าที่ไปที่มาของฮาโลวีนก่อนนะครับ
ส่วนประเด็นที่สนุกจนสุดคือแต่งเป็นผีไปเลย ผมว่าประเด็นนี้น่าคิดสำหรับวัฒนธรรมไทย เพราะนิยามผีของคนไทยทั่วไปที่ยังไม่เชื่อกับคริสเตียนไทยไม่เหมือนกัน คริสเตียนไทยมองผีคือมารซาตาน แต่มองผู้เชื่อที่ล่วงลับเป็นคริสตจักรสากล (แต่คนไม่เชื่อมองว่าเป็นผีนั่นแหล่ะ) ฉะนั้นการแต่งผีที่เป็นผีตามคติของคนไทยจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรและไม่ได้สะท้อนอะไรในพระลักษณะพระเจ้านอกจากความสนุกตามเทศกาลเท่านั้น อาจทำให้คนที่ยังไม่เชื่อสับสนว่าตกลงคริสเตียนชอบผี? แต่ถ้าจะสนุกและแต่งตัวเป็นอะไรที่ไม่ใช่ผี ผมว่าพอได้อยู่ครับ
แต่งแบบนี้พอรับได้ |
แต่งแบบนี้ไม่เอานะครับ |
อ้างอิง
- Dean Flemming, Contextualization in the New Testament.
- Isbouts, Jean-Pierre. Who's Who in the Bible: Unforgettable People and Timeless Stories from Genesis to Revelation. WA: National Geographic Society, 2013
- Samhain, Celtic Festival, Britannica.com
- Wikipedia, All Saints Day
- วัฒนธรรมชุบแป้งทอด: ผีหลอกวิญญาณหลอนย้อนแย้ง
ความคิดเห็น