ญี่ปุ่นใหม่ การก้าวข้ามเศรษฐกิจครั้งใหม่ของญี่ปุ่นที่ทุกคนควรศึกษา

เศรษฐกิจใหม่ถูกขับเคลื่อนด้วยปัญญาประดิษฐ์และเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เข้ามาตอบโจทย์การใช้ชีวิตของสังคมแบบใหม่ของมนุษย์ ส่งผลให้เบื้องหลังเหล่านั้นเต็มไปด้วยภารกิจใหม่ การจัดการโครงสร้างการทำงานด้วยวิธีใหม่ การบริหารเวลาในการทำงานแบบใหม่ และการเปิดรับวัฒนธรรมการทำงานที่สนับสนุนรูปแบบใหม่ของสังคมที่ต้องเปลี่ยนไป

ญี่ปุ่นไม่ได้หายไปจากการเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีของโลก ความจริงหากปราศจากนวัตกรรมระดับลึกของญี่ปุ่น เทคโนโลยีของอเมริกาและจีนไม่อาจเคลื่อนไปได้เลย นั่นคือทิศทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นลงลึกไปในระดับควอนตัม หรือมองไม่เห็นแต่สำคัญมากเรียบร้อยแล้ว คือลดขนาดไปในระดับอุปกรณ์สำคัญในการผลิตสิ่งเหล่านั้น กลายเป็น “เศรษฐกิจแบบสอดไส้ญี่ปุ่น” ที่มองไม่เห็นแต่ก็ขาดไม่ได้

การปรับตัวครั้งใหญ่ในต้นศตวรรษที่ 20 ทำให้ญี่ปุ่นเงียบไปในตลาดระดับสินค้าอุปโภคบริโภค แต่กลับโตมากในระดับผู้ผลิตเทคโนโลยีที่สำคัญในระดับโลก ญี่ปุ่นต้องปรับอย่างน้อย 3 เรื่อง คือ

1.ภารกิจ

จากเดิมเน้นสินค้าที่มองเห็นจับต้องได้ สู่สินค้าที่อยู่ในระดับลึกขึ้น ที่ต้องใช้ความปราณีตแบบญี่ปุ่นเท่านั้นที่จะสามารถผลิตได้ เช่น นาโนเทค สารเคมีบางอย่าง ชิปที่ยากที่จะลอกเลียนแบบ

2. โครงสร้างองค์กร

จากการทำงานเป็นระบบระเบียบอย่างเข้มงวด ไม่ยืดหยุ่น และตลอดชีวิต เป็นการยอมปรับเปลี่ยนเพราะภารกิจใหม่ขององค์กร มีการออกแบบเวลาทำงานที่ยืดหยุ่น แต่ยังคงความเข้มงวด การให้ผู้หญิงมีบทบาทบริหารมากขึ้น การให้พนักงานลาออกและกลับมาใหม่ได้ โดยไม่มองว่าทรยศองค์กร เป็นต้น

3. วัฒนธรรมการทำงาน

จากความเข้มงวด เป็นแบบอย่าง ใช้เวลามาก แต่เปล่าประโยชน์ เป็นการยืดหยุ่น ตรงประเด็น สามารถรื้อทิ้งสร้างใหม่ได้ และสนับสนุนการใฝ่รู้มากกว่าทำตามหัวหน้าทุกกระเบียดนิ้ว


แนวคิดหนังสือเล่มนี้ช่วยให้เราเข้าใจพื้นฐานที่ไปที่มาว่าเขาเป็นแบบเดิมอย่างไร อุปสรรคระดับวัฒนธรรมเป็นเรื่องอะไร และเขาก้าวผ่านเศรษฐกิจยุคดิจิตัลจนสามารถยืนได้อย่างมั่นคงในเวทีโลกแบบใหม่ได้อย่างไร

“ญี่ปุ่นใหม่ พลิกเกมธุรกิจพิชิตโลก” โดย Ulirike Schaede ศาตราจารย์ด้านธุรกิจญี่ปุ่น หนังสือใหม่ เม.ย. 2566 ความหนา 346 หน้า ระดับความยาก: ปานกลางถึงยาก เหมาะสำหรับผู้นำองค์กรทุกรูปแบบที่สนใจการเปลี่ยนผ่านท่ามกลางยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของโลก อ่านยากหน่อยแต่เป็นอีกเล่มที่ผมแนะนำครับ

ความคิดเห็น