โดย กนก ลีฬหเกรียงไกร
ปี ค.ศ. มาจากข้อสรุปของปฏิทินเกรกอเรียน (Gregorian Calendar) โดยโป๊ป เกรโกรีที่ 13 (Pope Gregory XIII) ในเดือนตุลาคม ปี ค.ศ. 1582 ซึ่ง โป๊ป เกรโกรีที่ 13 ปรับปรุงจากปฏิทินจูเลียน (Julian Calendar) โดย จูเลียส ซีซาร์ (Julius Ceasar) ที่ประดิษฐ์ขึ้นในปี 45 ก่อนค.ศ. อีกที ปี ค.ศ.525 มีการปรับปรุงปฏิทินจูเลียนครั้งใหญ่ และกว่าจะเป็นที่นิยมอย่างสากล มีการปรับปรุงอีกหลายครั้งจนถึงยุคของโป๊ป เกรโกรีที่ 13 ถึงจะมีใช้อย่างแพร่หลาย
คริสตศักราช มาจากคำว่า Anno Domini (AD) เป็นภาษาละตินแปลว่า ในปีของจอมเจ้านาย (in the year of the Lord) จอมเจ้านายในที่นี้หมายถึงพระเยซูคริสต์ โดยเริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ.1 ถือเป็นปีที่พระเยซูประสูติในความคิดของโป๊ป เกรโกรีที่ 13 ในเวลานั้น และ Before Christ (BC) คือปีก่อนพระเยซูประสูติ ระบบนี้ไม่มี ค.ศ.0 การนับปีจะนับ AD 1 หรือ ไม่ก็ 1 BC ไปเลย
ปีที่พระเยซูประสูติจึงเป็นประเด็นที่น่าพิจารณา เพราะพระคัมภีร์ไม่มีการบันทึกวันที่ไว้อย่างชัดเจน การกำหนดหลักหมุดของปีที่ให้เกียรติพระเยซูจึงยังไม่ใช่ความจริงที่พิสูจน์ได้ว่าเหตุการณ์จริงจะเป็นตามนั้นหรือไม่ ต้องใช้หลักฐานอื่นประกอบเพิ่มเติมเพื่อความแน่ใจ
พระคัมภีร์มีเพียงมัทธิวและลูกาเท่านั้นที่ให้บันทึกถึงเหตุการณ์การประสูติของพระเยซู ซึ่งมีหลักฐานว่าในเวลานั้นโยเซฟและมารีย์ต้องเดินทางจากเมืองนาซาเร็ธเพื่อทำสำมะโนประชากรที่เมืองเกิดคือเบธเลเฮ็ม ตามประกาศของออกัสตัส ซีซาร์ (Ceasar Augustus Census) ในปีที่ 6 ก่อน ค.ศ. เพื่อเป็นการบันทึกผู้ที่ต้องเสียภาษี และมีการบันทึกปีที่สิ้นพระชนม์ของกษัตริย์เฮโรด (Herod, the Great) คือในปี 4 ก่อน ค.ศ.
ซึ่งหากเทียบปีของปฏิทินเกรกอเรียน พระเยซูจะประสูติในปี 6 หรือ 4 ก่อนคริสตกาล ซึ่งหลักฐานชี้ไปที่ 2 ช่วงเวลานี้เท่านั้น
ความคิดเห็น