โดย กนก ลีฬหเกรียงไกร
ลักษณะงานรับใช้ของผู้นำพิธีมหาสนิทในวันอาทิตย์จะครอบคลุมความเข้าใจในเรื่องต่างๆ ได้แก่ การเคลื่อนไหวโดยการใช้ของประทานในรอบนมัสการ, การเผยวจนะ, การทำพิธีมหาสนิท, และการถวายทรัพย์ สำหรับพิธีมหาสนิท ผมจะพูดทีละส่วน ครั้งนี้จะพูดถึงการเคลื่อนไหวในบรรยากาศหลังการนมัสการ
การเคลื่อนไหวในบรรยากาศหลังการนมัสการ
สิ่งที่พึงตระหนักคือการเคลื่อนไหวบรรยากาศฝ่ายวิญญาณจะต้องนำมาซึ่งการเสริมสร้างในที่ประชุม ทำให้เกิดความรัก, ความเคารพยำเกรง, และความตระหนักถึงพระคุณพระเจ้าเป็นสำคัญ ระมัดระวังอย่าให้บรรยากาศออกมาในแนวของการให้มนุษย์เป็นศูนย์กลาง (Anthropocentric) เช่น ใช้บรรยากาศเพื่อสนับสนุนความคิดของมนุษย์หรือเพื่อตอบสนองวาระบางอย่างของเรา
รูปแบบการเคลื่อนไหวที่ให้พระเจ้าเป็นศูนย์กลาง
1. การเคลื่อนไปสู่ศูนย์กลางพระประสงค์ (The progression of worship model)
รูปแบบนี้ต้องเข้าใจพระประสงค์ของพระเจ้าในการประชุมในวันนั้น อาจจะดูได้จากคำเทศนา หรือกิจกรรมที่จะเน้นในวันนั้น
วิธีการนำจะนำจากความคิดที่ใหญ่ไปหาเล็ก คือ
1) กล่าวยกย่องพระลักษณะและพระราชกิจของพระเจ้าในมุมกว้าง
2) กล่าวยกย่องถึงพระราชกิจและแผนการที่สมบูรณ์ของพระเยซูคริสต์ ได้แก่ การประสูติ, การสิ้นพระชนม์บนกางเขน, การฟื้นจากความตาย, การเสด็จขึ้นสู่สวรรค์
3) กล่าวถึงพระลักษณะของพระเจ้าที่ทรงเป็นตามวัตถุประสงค์ของหัวข้อหลักในวันนั้น เช่น คริสต์มาส, อีสเตอร์, ความรักและการให้อภัย, อ่านข้อพระคัมภีร์หรือพูดหัวข้อที่สอดคล้องกับคำเทศนาในวันนั้น เป็นต้น
2. การให้พระคริสต์เป็นศูนย์กลาง (Practicing Christocentric worship model)
1) เริ่มต้นด้วยการกล่าวถึงพระเยซูคริสต์ผู้เป็นศูนย์กลางแห่งการนมัสการในคริสตจักร เชิญพระเยซูประทับในจิตใจของเรา
2) พูดถึงพระราชกิจของพระคริสต์ที่เจาะจงในชีวิตเรา ซึ่งอาจเป็นคำพยานสั้นๆ เพื่อหนุนใจที่ประชุม
3) เปิดบรรยากาศให้พระวิญญาณฯ นำในการเคลื่อนไหวตามพระราชกิจของพระเยซู เช่น การอธิษฐานเผื่อ, การวางมือรักษาโรค, การวางมือเผื่อปัญหาเจาะจง เป็นต้น
4) ใช้เพลงที่เกี่ยวข้องกับพระราชกิจของพระเยซู เช่น ได้แก่ การประสูติ, การสิ้นพระชนม์บนกางเขน, การฟื้นจากความตาย, การเสด็จขึ้นสู่สวรรค์
5) หาสัญลักษณ์ที่ทำให้ที่ประชุมจดจำหรือเน้นย้ำความหมายแท้ที่พระเยซูทรงมีต่อเรา เช่น การวางมือที่ใจ, การบอกรักพระเยซู, การขอโทษพี่น้อง, การหนุนใจพี่น้องที่นั่งข้างๆ เป็นต้น
6) หากเป็นวันสำคัญตามปฏิทินคริสเตียน ให้นำบรรยากาศที่ประชุมระลึกถึงความหมายที่มีคุณค่าของวันนั้นๆ
เพลงที่มักจบในการนมัสการ
เราควรจำท่อนท้ายของเพลงที่ผู้นำนมัสการใช้เป็นเพลงสุดท้ายก่อนส่งไมค์ต่อให้เราเพื่อจะสามารถเชื่อมต่อได้อย่างเข้าใจทั้งเนื้อร้อง ทำนอง และความหมายของเพลง
จากการสำรวจความถี่เพลงนมัสการ (เพลงช้า) ที่คริสตจักรกิจการของพระคริสต์ใช้ตั้งแต่ปี 2015-2017 ทั้งหมด 237 เพลง พบว่าเพลงนมัสการที่มักใช้อย่างมีนัยทางสถิติ 5 เพลง ได้แก่
1) พระองค์ดี (You are Good, Gateway Worship)
2) พระเจ้าทรงยิ่งใหญ่ (How Great Is Our God)
3) พระเจ้ายิ่งใหญ่ (How Great Thou Art)
4) ราชาแห่งดวงใจ
5) ข้าเข้ามานมัสการ (Here I Am To Worship)
เราอาจจะเริ่มฝึกจาก 5 เพลงนี้ก่อนว่าจะออกแบบบรรยากาศการเชื่อมต่ออย่างไรน่าจะเหมาะสมกับการทรงนำของพระวิญญาณฯ
วิธีการต่อเชื่อมบรรยากาศต่อจากผู้นำนมัสการ
1) ไม่ต้องรีบร้อนในการต่อเชื่อมบรรยากาศ อธิษฐานขอการทรงนำและมั่นใจในพระเจ้า
2) สามารถเริ่มด้วยหลายวิธี เช่น ร้องเพลงจากใจ, การอธิษฐานด้วยความร้อนรน, การอธิษฐานด้วยความซาบซึ้ง, สารภาพความเชื่อ, เผยพระวจนะ, หรือแม้แต่นิ่งเงียบฟังเสียงพระเจ้า
3) ใช้ความเชื่อในการนำ อย่ารู้สึกตึงเครียดกับการนำมากจนเกินไป รักษาใจให้ฟังเสียงพระวิญญาณฯ เสมอ เมื่อมั่นใจให้กล้าหาญในการนำที่ประชุมไปตามทิศทางของพระวิญญาณฯ
4) หากมีผู้ที่ออกมาเผยพระวจนะ ให้พิจารณาตามความเหมาะสม ซึ่งอาจให้เผยพระวจนะ, จำกัดจำนวนคน, หรือเคลื่อนบรรยากาศต่อไปยังพิธีมหาสนิท ทั้งนี้เป็นการตัดสินใจของเราเป็นหลักเพื่อความเป็นระเบียบในการประชุมและเพื่อให้เป็นที่เสริมสร้างกันและกัน
ลักษณะงานรับใช้ของผู้นำพิธีมหาสนิทในวันอาทิตย์จะครอบคลุมความเข้าใจในเรื่องต่างๆ ได้แก่ การเคลื่อนไหวโดยการใช้ของประทานในรอบนมัสการ, การเผยวจนะ, การทำพิธีมหาสนิท, และการถวายทรัพย์ สำหรับพิธีมหาสนิท ผมจะพูดทีละส่วน ครั้งนี้จะพูดถึงการเคลื่อนไหวในบรรยากาศหลังการนมัสการ
สิ่งที่พึงตระหนักคือการเคลื่อนไหวบรรยากาศฝ่ายวิญญาณจะต้องนำมาซึ่งการเสริมสร้างในที่ประชุม ทำให้เกิดความรัก, ความเคารพยำเกรง, และความตระหนักถึงพระคุณพระเจ้าเป็นสำคัญ ระมัดระวังอย่าให้บรรยากาศออกมาในแนวของการให้มนุษย์เป็นศูนย์กลาง (Anthropocentric) เช่น ใช้บรรยากาศเพื่อสนับสนุนความคิดของมนุษย์หรือเพื่อตอบสนองวาระบางอย่างของเรา
รูปแบบการเคลื่อนไหวที่ให้พระเจ้าเป็นศูนย์กลาง
รูปแบบนี้ต้องเข้าใจพระประสงค์ของพระเจ้าในการประชุมในวันนั้น อาจจะดูได้จากคำเทศนา หรือกิจกรรมที่จะเน้นในวันนั้น
วิธีการนำจะนำจากความคิดที่ใหญ่ไปหาเล็ก คือ
1) กล่าวยกย่องพระลักษณะและพระราชกิจของพระเจ้าในมุมกว้าง
2) กล่าวยกย่องถึงพระราชกิจและแผนการที่สมบูรณ์ของพระเยซูคริสต์ ได้แก่ การประสูติ, การสิ้นพระชนม์บนกางเขน, การฟื้นจากความตาย, การเสด็จขึ้นสู่สวรรค์
3) กล่าวถึงพระลักษณะของพระเจ้าที่ทรงเป็นตามวัตถุประสงค์ของหัวข้อหลักในวันนั้น เช่น คริสต์มาส, อีสเตอร์, ความรักและการให้อภัย, อ่านข้อพระคัมภีร์หรือพูดหัวข้อที่สอดคล้องกับคำเทศนาในวันนั้น เป็นต้น
2. การให้พระคริสต์เป็นศูนย์กลาง (Practicing Christocentric worship model)
1) เริ่มต้นด้วยการกล่าวถึงพระเยซูคริสต์ผู้เป็นศูนย์กลางแห่งการนมัสการในคริสตจักร เชิญพระเยซูประทับในจิตใจของเรา
2) พูดถึงพระราชกิจของพระคริสต์ที่เจาะจงในชีวิตเรา ซึ่งอาจเป็นคำพยานสั้นๆ เพื่อหนุนใจที่ประชุม
3) เปิดบรรยากาศให้พระวิญญาณฯ นำในการเคลื่อนไหวตามพระราชกิจของพระเยซู เช่น การอธิษฐานเผื่อ, การวางมือรักษาโรค, การวางมือเผื่อปัญหาเจาะจง เป็นต้น
4) ใช้เพลงที่เกี่ยวข้องกับพระราชกิจของพระเยซู เช่น ได้แก่ การประสูติ, การสิ้นพระชนม์บนกางเขน, การฟื้นจากความตาย, การเสด็จขึ้นสู่สวรรค์
5) หาสัญลักษณ์ที่ทำให้ที่ประชุมจดจำหรือเน้นย้ำความหมายแท้ที่พระเยซูทรงมีต่อเรา เช่น การวางมือที่ใจ, การบอกรักพระเยซู, การขอโทษพี่น้อง, การหนุนใจพี่น้องที่นั่งข้างๆ เป็นต้น
6) หากเป็นวันสำคัญตามปฏิทินคริสเตียน ให้นำบรรยากาศที่ประชุมระลึกถึงความหมายที่มีคุณค่าของวันนั้นๆ
เพลงที่มักจบในการนมัสการ
เราควรจำท่อนท้ายของเพลงที่ผู้นำนมัสการใช้เป็นเพลงสุดท้ายก่อนส่งไมค์ต่อให้เราเพื่อจะสามารถเชื่อมต่อได้อย่างเข้าใจทั้งเนื้อร้อง ทำนอง และความหมายของเพลง
จากการสำรวจความถี่เพลงนมัสการ (เพลงช้า) ที่คริสตจักรกิจการของพระคริสต์ใช้ตั้งแต่ปี 2015-2017 ทั้งหมด 237 เพลง พบว่าเพลงนมัสการที่มักใช้อย่างมีนัยทางสถิติ 5 เพลง ได้แก่
1) พระองค์ดี (You are Good, Gateway Worship)
2) พระเจ้าทรงยิ่งใหญ่ (How Great Is Our God)
3) พระเจ้ายิ่งใหญ่ (How Great Thou Art)
4) ราชาแห่งดวงใจ
5) ข้าเข้ามานมัสการ (Here I Am To Worship)
เราอาจจะเริ่มฝึกจาก 5 เพลงนี้ก่อนว่าจะออกแบบบรรยากาศการเชื่อมต่ออย่างไรน่าจะเหมาะสมกับการทรงนำของพระวิญญาณฯ
1) ไม่ต้องรีบร้อนในการต่อเชื่อมบรรยากาศ อธิษฐานขอการทรงนำและมั่นใจในพระเจ้า
2) สามารถเริ่มด้วยหลายวิธี เช่น ร้องเพลงจากใจ, การอธิษฐานด้วยความร้อนรน, การอธิษฐานด้วยความซาบซึ้ง, สารภาพความเชื่อ, เผยพระวจนะ, หรือแม้แต่นิ่งเงียบฟังเสียงพระเจ้า
3) ใช้ความเชื่อในการนำ อย่ารู้สึกตึงเครียดกับการนำมากจนเกินไป รักษาใจให้ฟังเสียงพระวิญญาณฯ เสมอ เมื่อมั่นใจให้กล้าหาญในการนำที่ประชุมไปตามทิศทางของพระวิญญาณฯ
4) หากมีผู้ที่ออกมาเผยพระวจนะ ให้พิจารณาตามความเหมาะสม ซึ่งอาจให้เผยพระวจนะ, จำกัดจำนวนคน, หรือเคลื่อนบรรยากาศต่อไปยังพิธีมหาสนิท ทั้งนี้เป็นการตัดสินใจของเราเป็นหลักเพื่อความเป็นระเบียบในการประชุมและเพื่อให้เป็นที่เสริมสร้างกันและกัน
อ้างอิง
- Anderson, Ray S. The Shape of Practical Theology: Empowering ministry with theological praxis. Downers Grove: Inter Varsity Press, 2001.
- Cherry, Constance M. The Worship Architect: a Blueprint for Designing Culturally Relevant and Biblical Faithful Services. IL: Baker Academic, 2010.
- Leelahakriengkrai, Kanok. “Investigating the theology of worship from the worship songs that are sung in Acts of Christ church and implications for worship”. Christian Worship: Biblical and Contextual Perspectives, 2018.
- Peterson, David. Engaging with God: A Biblical Theology of Worship. IL: InterVersity Press, 1992.
ความคิดเห็น